กําแพงเมืองเก่า นครศรีธรรมราช ที่เที่ยวถ่ายรูป จุดเช็คอิน

กําแพงเมืองเก่า นครศรีธรรมราช ถ้าพูดถึงจุดเช็คอินถ่ายภาพของเมืองเชียงใหม่ ก็ต้องเป็นประตูท่าแพ ใช่ไหมคะ แต่ๆ ถ้ามาเที่ยว นครศรีธรรมราช ก็ต้องที่นี่เลย กําแพงเมืองเก่า เพราะมีความใกล้เคียงกัน อีกทั้งยังถ่ายรูปออกมาสวยไม่แพ้กันด้วย ใครเป็นสายแชะภาพชอบเก็บมุมสวยๆ ต้องตามเรามาแล้วค่า

นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดในประเทศไทย มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้และมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี) เป็นจังหวัดที่มีอำเภอมากที่สุดในภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 780 กิโลเมตร มีจังหวัดที่อยู่ติดกันได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ และสุราษฎร์ธานี

หลักฐานในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของนครศรีธรรมราชพบตั้งแต่ยุคหินกลางและ ยุคหินใหม่ พบเครื่องมือหินต่างๆ พบระนาดหินที่อำเภอท่าศาลา ต่อมาในยุคโลหะได้พบหลักฐานทางโบราณคดี คือ กลองมโหระทึกสำริด 2 ใบ ที่บ้านเกตุกาย ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง และที่คลองคุดด้วน อำเภอฉวาง

 

ข้อมูลสถานที่ กําแพงเมืองเก่า นครศรีธรรมราช

 

กําแพงเมืองเก่า นครศรีธรรมราช เป็นกำแพงเมืองที่เคยปกป้องเมืองนครศรีธรรมราชจากข้าศึก เป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัด ป็นเครื่องแสดงถึงความเก่าแก่ ความแข็งแกร่ง ความเจริญรุ่งเรือง และประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปัจจุบันได้รับการบูรณะใหม่ให้ แข็งแรงและสวยงาม เพื่อพัฒนาเป็นอีก 1 สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า

มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีที่ตั้งอยู่ หลายจุดด้วยกัน แต่ที่เหลือให้ชม คือ กำแพงเมืองด้านทิศเหนือ อยู่ริมคลองหน้าเมือง ถนนมุมป้อม ความแข็งแกร่งความ เจริญรุ่งเรือง และประวัติศาสตร์อันยาวนาน กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ริมคลอง หน้าเมือง ถนน มุมป้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช การสร้างปรากฏหลักฐาน

จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่าสร้างขึ้นใน สมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เมื่อตั้งเมืองขึ้นที่ หาด ทรายแก้ว แล้วจึงสร้างกำแพง เมืองเป็นกำแพงดิน มีคูล้อมรอบสันนิษฐานว่า มี การบูรณะกำแพง เมืองส่วนต่างๆ กันมาหลายครั้งทุกครั้ง คงพยายามรักษา แนวกำแพงเดิมไว้

 

ประวัติ ของ กําแพงเมืองเก่า

 

กำแพงเมืองเก่า นั้นตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีการซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ ตามรูปแบบเดิมในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั่นเองค่ะ ซึ่งกำแพงแห่งนี้ ได้รับการบูรณะเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2533 จะตั้งอยู่ในลักษณะขนานไปกับคูเมือง ตั้งแต่ป้อมประตูชัยเหนือไปจนถึงทางตะวันออกยาวประมาณ 100 เมตร นั่นเองค่ะ

และในปี พ.ศ. 2548 ก็ได้มีการบูรณะเพิ่มเติมอีก โดยทำให้เป็นแนวขนานกับคูเมืองทางทิศตะวันตกยาวประมาณ 150 เมตร ซึ่ง กำแพงเมืองเก่า ของนครศรีธรรมราชนี้ เป็นการสะท้อนถึงความเป็นเมืองโบราณ และมีความสำคัญมาตั้งแต่เมื่อครั้งในอดีตค่ะ

เริ่มแรกของการสร้าง กําแพงเมืองเก่า นั้น มีหลักฐานมาจากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่า สร้างขึ้นในสมัย พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เมื่อตั้งเมืองขึ้นที่หาดทรายแก้ว แล้วก็เลยมีการสร้างกำแพงเมือง เป็นกำแพงดิน มีคูล้อมรอบ ว่ากันว่าน่าจะมีการบูรณะกำแพงและเมืองส่วนต่างๆ กันมาหลายครั้ง ซึ่งในทุกๆ ครั้งก็ยังคง พยายามรักษาแนวกำแพงเดิมเอาไว้ให้คงอยู่ค่ะ

โดยกำแพงรูปแบบที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ ก็มาจากในสมัยของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยนายช่างวิศวกรและสถาปนิกของฝรั่งเศส ที่เข้ามาเมืองไทย และสร้างกำแพงเมืองตามแบบของ ชาโต (Chateau) นั่นเองค่ะ มีส่วนของใบเสมาและแนวที่ยังคงสังเกตเห็นได้อยู่บ้าง ถือได้ว่ากำแพงนี้ เป็นเครื่องแสดงถึงความเก่าแก่ ความเจริญรุ่งเรือง และประวัติศาสตร์อันยาวนานของ เมืองนครศรีธรรมราช แห่งนี้เลยค่ะ

อีกหนึ่งจุดสวยๆ ของ นครศรีธรรมราช ที่ควรค่าแก่การแวะมาเช็คอินถ่ายรูปมากๆ เลยค่ะ ได้ฟีลสวยๆ แบบเก่าแก่สุดๆ ใครมีแพลนจะมาเที่ยวนครฯ อยู่แล้วก็อย่าลืมมาถ่ายภาพสวยๆ ของ กําแพงเมืองเก่า นี้ กลับไปกันนะคะ

 

ประวัติ ของ กําแพงเมืองเก่า ต่อ

 

กําแพงเมืองเก่า นครศรีธรรมราช กำแพงเมืองที่เห็นในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองเก่าที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ในปี พ.ศ. 2530 กำแพงเมืองทอดขนานไปกับคูน้ำจากประตูด้านทิศเหนือไปทางทิศตะวันออก ยาวประมาณ 100 เมตร กำแพงเมืองเดิมก่อด้วยอิฐ ปูนทั้งสี่ด้านพร้อมเชิงเทิน ใบเสมากำแพงทั้งสี่มุม ป้อมแต่ละมุม กำแพงด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีประตูเมือง ด้านละด้าน ประตูชัยด้านทิศเหนือ o ประตูไชยศักดิ์ และด้านทิศใต้ มี ประตูชัย หรือ ประตูชัยสีห์ ขนาดของเมืองวัดตามกำแพงเมือง ยาว 2238.50 เมตร กว้าง 456.50 เมตร ถัดจากกำแพงเมืองมีคูเมือง

คูเมืองด้านเหนือคือคลองน้อย (หรือคลองหน้าเมืองในปัจจุบัน) ซึ่งขุดลงไปทางอ่าวไทย กำแพงเมือง ตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชสร้างขึ้นหลังจากที่ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช อพยพผู้คนหนีไข้มาตั้งเมืองที่หาดทรายแก้วแล้วโปรดให้สร้าง และได้รับการซ่อมแซมตามลำดับ เช่น เมื่อพระราเมศวรยกทัพมาปราบล้านนาในปี พ.ศ. 1950

กำแพงเมืองได้รับการซ่อมแซมโดย ชาวล้านนา ต่อมา ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในปี พ.ศ. 1687 ได้มีการซ่อมแซมกำแพงเมืองครั้งใหญ่โดยสร้างปราการปราสาท . ซึ่งสามารถป้องกันปืนใหญ่แบบตะวันตกได้และกำแพงเมืองที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันซึ่งสร้างขึ้นในครั้งนั้นและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณ พ.ศ. 2327 พระยานครศรีธรรมราชได้ซ่อมแซมอีกครั้งหนึ่ง (พัด) และได้ทำการบูรณะครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2533

 

บทความแนะนำ